ENT, Aesthetics, Plastic surgery

การผ่าตัดทอนซิลสมัยใหม่ต่างจากเดิมอย่างไร ?
เนื่องจากปัจจุบันนี้ มีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคของต่อมทอนซิล รวมถึงญาติของผู้ป่วยจำนวนมาก ได้มา ปรึกษา รวมทั้งติดต่อทาง Website, Call Center และสื่อสารอื่นๆ ถึงข้อดี ข้อเสียของการตัดต่อมทอนซิลแบบดั้งเดิม และการผ่าตัดต่อมทอนซิลแบบสมัยใหม่ด้วย CO2 LASER จึงขอให้ข้อมูลแก่ท่านที่สนใจดังต่อไปนี้
การตัดต่อมทอนซิลนั้น เป็นการการผ่าตัดที่ทำกันมานานนับพันปีแล้ว เรียกกันว่า Traditional Tonsillectomy เป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยตัดเอาต่อมทอนซิลออกไปทั้งหมด ในกรณีนี้เป็นการตัดเอาเปลือกนอก ของทอนซิล (Tonsil Capsule) ออกไปด้วย การตัดทอนซิลออกนั้นสามารถเลือกใช้เครื่องมือได้หลายอย่าง อาทิเช่น เครื่องมือแพทย์ที่เรียกว่า กิโยตีน ( guillotine คือ เครื่องประหารชีวิตที่ใช้ตัดหัว ตัดคอนักโทษ) , ลวดรัด (snaring) , มีด , กรรไกร อาจใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า , เครื่องจี้คลื่นวิทยุ ( RF ) , CO2 LASER กล่าวโดยสรุป คือ เป็นการตัดเอาต่อมทอนซิล รวมทั้งเปลือกหุ้มของต่อมทอนซิล (Tonsil Capsule) ออกไปทั้งหมด
แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นปราการด่าน แรกในการต่อต้านเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่ายกายผ่านทางลำคอ และจะทำหน้าที่ตลอดชีวิตแม้จะน้อยกว่าในวัยเด็กก็ตาม การตัดต่อมทอนซิลออกทั้งหมดนั้น ทำให้เกิดข้อเสีย 3 ประการใหญ่ๆ คือ
1. ผู้ป่วยเสียอวัยวะต่อมทอนซิล ที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคไป
2. เปลือกนอกของต่อมทอนซิล คือ เนื ้อเยื่อพังผืดด้านข้างคอที่เรียกว่า Pharyngo Basilar Fascia ที่หนาตัวขึ ้น การตัดต่อมทอนซิลแบบ
ดั้งเดิมนั้น ผู้ป่วยจะสูญเสียความแข็งแรงของด้านข้างของลำคอไปด้วย เชื้อโรค สามารถเข้าสู่กล้ามเนื้อข้างลำคอโดยตรงผ่านทางเยื่อบุบางๆเท่านั้น สรุป ผู้ป่วยสูญเสียผนังกั้น ( Barrier )ที่ แข็งแรงของลำคอไป
3. เปลือกหุ้มของต่อมทอนซิล (Tonsil Capsule) นั้น เป็นส่วนที่ให้ความแข็งแรงของโครงสร้างด้านข้างลำคอ การ ตัดต่อมทอนซิลแบบ
ดั้งเดิม (Traditional Tonsillectomy ) ได้ตัดเอาเปลือกหุ้มของต่อมทอนซิลออกไปด้วย จากการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับการตัดต่อมทอนซิลออกไปจะมีการสูญเสียของผนังค้ำยัน ด้านหน้าของช่องคอ ( Anterior Pillar ) ไป ( Deficiency of Anterior Pillar ) ดังรูป * ทำให้เกิดการ หย่อนคล้อยของลิ้นไก่และเพดานอ่อนไปชิดผนังด้านหลังของลำคอ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ในภายหน้า
นับตั้งแต่คริสต์ศักราช 2000 เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดต่อมทอนซิลแบบสมัยใหม่ขึ้น ( Modern Tonsil Surgery) โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเนื้อเยื่อต่อมทอนซิลที่เป็นปัญหาออกไป เช่น เนื้อเยื่อต่อมทอนซิลที่มี พยาธิสภาพ หรือส่วนของต่อมทอนซิลที่โตเกินขนาดจน
อุดกั้นทางเดินหายใจ โดยเฉพาะต่อมทอนซิลโตในเด็ก คงเหลือ เนื้อเยื่อต่อมทอนซิลที่ดีไว้ ให้ทำหน้าที่ของต่อมทอนซิลต่อไปได้ตลอดชีวิต ในการผ่าตัดนี้ เปลือกหุ้มของต่อมทอนซิล(Tonsil Capsule) ยังคงอยู่ หลังการผ่าตัดความแข็งแรงของด้านข้างลำคอ ผนังกั้น (Barrier)ยังคงอยู่ และความแข็งแรง ของโครงสร้างของช่องคอ ( Oropharynx ) ยังคงอยู่เหมือนเดิม
ปัจจุบัน วารสารการแพทย์ หู คอ จมูก ของสหรัฐอเมริกา ( The Laryngoscope; May 2013) ได้ลงบทความ ว่า การผ่าตัดตกแต่งต่อมทอนซิล ที่เรียกว่า Tonsilloplasty เป็นเทคนิคใหม่ของการผ่าตัดต่อมทอนซิล และเป็นทางเลือก ใหม่ให้ผู้ป่วยพิจารณา

รูปที่ * ต่อมทอนซิลที่มีพยาธิสภาพ และโตเกินขนาดจนอุดกั้นทางเดินหายใจ

รูปที่ ** Deficiency of Anterior Pillar

รูปที่ *** Post OP CO2 LASER Tonsilloplasty
เปรียบเทียบ
รูปที่ * ก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิลที่มีพยาธิสภาพ และโตเกินขนาดจนอุดกั้นทางเดินหายใจ
รูปที่ ** หลังการตัดต่อมทอนซิลแบบดั้งเดิม Traditional Tonsilloplasty