top of page

นวัตกรรมการผ่าตัดลดขนาดต่อมทอนซิลโตอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

ทิศทางใหม่ของการผ่าตัดต่อมทอนซิล


ในเด็กที่มีขนาดต่อมทอนซิลโตมากอาจทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เกิดอาการหายใจลำบาก และนอนกรนซึ่งอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทำให้เด็กมีอาการอื่นๆตามมา เช่น ง่วงซึม สมาธิลดลงหรือก้าวร้าว พ่อแม่ของเด็กมักจะมาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับบุตรหลานเนื่องจากต่อมทอนซิลโต โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำว่าการรักษาหลักมี 2 วิธี คือ

1. การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ หรือ CPAP หรือ

2. การตัดทิ้งต่อมทอนซิล (และ/หรือต่อมอะดินอยด์) ทิ้ง

ในกรณีที่เลือกการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด โดยทั่วไปแพทย์จะใช้วิธีตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมด (Total Tonsil Removal) แต่ในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2018 มีข้อมูลวิชาการทางการแพทย์รายงานชัดเจนแล้วว่าการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมดนั้นเป็นความคิดที่ไม่ดี และการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มที่ตัดทอนซิลทิ้งเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตัดทอนซิลโดยติดตามต่อไปเมื่ออายุมากขึ้น พบว่าการตัดทิ้งต่อมทอนซิลออกไปทั้งหมดทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ และโรคอื่นๆ รวมแล้วกว่า 28 โรค เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า นอกจากนี้การตัดต่อมทอนซิลทิ้งทั้งหมด (Traditional Tonsillectomy) ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกหลังการผ่าตัดมากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดทอนซิลออกบางส่วน/Tonsillotomy

ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันการผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งในเด็กที่มีต่อมทอนซิลโตอุดกั้นทางเดินหายใจจึงไม่เป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา และมีจำนวนเปอร์เซ็นต์การทำลดลงตามลำดับ นวัตกรรมทางเลือกใหม่ที่ถูกนำมาใช้แทนการตัดทิ้งต่อมทอนซิลทิ้งก็คือเทคนิคที่เรียกว่าTonsillotomy หรือ Tonsilloplasty ซึ่งก็คือ การผ่าตัดลดขนาดต่อมทอนซิลโดยการตัดต่อมทอนซิลออกเพียงบางส่วน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Partial Tonsillectomy การผ่าตัดโดยวิธีนี้ไม่ใช่การตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมด แต่จะคงต่อมทอนซิลไว้อยู่ประมาณ 10- 20 % เพื่อให้ส่วนที่เหลือสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียอวัยวะต่อมทอนซิลไปทั้งหมดเหมือนแต่ก่อน

ล่าสุดในปี 2017 มีรายงานจากประเทศสวีเดนโดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กตั้งแต่ปี ค.ศ.1993-2013 พบว่าในการผ่าตัดทอนซิลทั้งหมด 167,984 ราย มี 55.1% ที่ใช้วิธีการผ่าตัดต่อมทอนซิลออกเพียงบางส่วนที่เรียกว่า Tonsillotomy จึงสรุปว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลด้วยเทคนิคใหม่นี้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ได้รับการยอมรับและมีการทำมากกว่าการตัดทอนซิลทิ้งแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญ

Ref.

1. “Having tonsils out as a child increases risk of infections and lung complaints for life, finds study”

Study found heightened susceptibility to 28 different types of disease, including parasitic infections, skin ailments and eye complaints

Alex Matthews-King Health Correspondent / Thursday 7 June 2018

https://www.independent.co.uk/news/health/tonsils-removed-throat-infection-colds-adenoids-surgery-childhood-allergies-asthma-a8387801.html

2. Trends and changes in paediatric tonsil surgery in Sweden 1987-2013 : a population-based cohort study IBMJ open

https://bmjopen.bmj.com/content/7/1/e013346


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page